Giá xuống

Case Study : WIRECARD -99% และ Wyckoff Logic

วันนี้ เห็นข่าว Wirecard ประกาศล้มละลาย ทำให้ราคาร่วงจาก 100 ลงไปเหลือแค่ 1.8 ณ ตอนนี้
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเปล่า ก็เลยลองเปิดกราฟดู เพื่อเรียนรู้ครับ ว่า มันเกิดอะไรขึ้น และ เราจะป้องกันตัวเรา ไม่ให้ตกไปอยู่ในสถานการณ์ที่พอร์ตหดลงไป -99% ได้อย่างไร

พอเปิดกราฟดู ... ได้แต่ตบเข่าดังฉาด! ร้องอุทานว่า .. ไอสั๊ส! มึงก๊อปกราฟ Bitcoin มาทำไมเนี่ย! 555
มันคือ Wyckoff Logic แบบว่า ชัด จนไม่รู้จะชัดยังไงเลยครับ

ถามว่า Wyckoff Logic คืออะไร ถ้าเล่าง่ายๆ สั้นๆ ก็คือ เป็นเหมือนข้อสังเกตุ ที่บอกว่า
ตลาดเนี่ย ปกติ มันจะมี 4 phase ด้วยกัน ก็คือ
1) Accumulation หรือ ช่วงสะสม
2) Mark Up หรือ ช่วง ดันราคา
3) Distribution หรือ ช่วงแจกจ่าย
4) Mark Down หรือ ช่วง ราคาร่วง

โดยระหว่างช่วง Mark Up กับ distribution เราจะได้เห็นช่วง "Buying Climax" กันก่อนทีนึง
และระหว่างช่วง Mark Down กับ new accumulation รอบหน้า เราก็จะได้เห็น "Selling Climax" กันก่อน อีกทีนึงเช่นกัน


โดยกราฟ Wirecard ได้แสดง phase ทั้งหมด อยู่ในกราฟ แบบว่า ชัด จนไม่รู้จะชัดอย่างไร

ซึ่ง... เรา ในฐานะ นักลงทุน ได้อะไรจากบทเรียนแบบนี้?
1) ช่วงที่อันตรายที่สุด คือ ช่วง Buying Climax เพราะมันจะไปเรียกเม่า และมือใหม่ ให้เข้ามาซื้อสินค้าชนิดนี้ กันเต็มไปหมด และทุกคนจะได้กำไรกันอย่างง่ายดาย ง่ายจนแบบว่า คิดว่า ตัวเองเก่ง ตัวเองแน่ อีโก้มาเต็ม กันเลยทีเดียว
โดยมือใหม่ ก็จะเหมือนกันหมดทั่วโลก คือ ซื้อๆ ขายๆ ไล่ราคาไปเรื่อยๆ ขายหมู ซื้อใหม่ ขายหมู เติมเงิน ซื้อใหม่ ขายหมู เติมเงิน ซื้อใหม่ วนไปเรื่อยๆ
และแทบจะร้อยทั้งร้อย ก็จะไปตายกันที่ยอดดอย หลังกราฟชัน 90 องศา...
เพราะจะมือแข็ง ไม่กล้าขายตัดขาดทุนออกมา หลังจากที่ราคาเริ่มกลับตัว เพราะคิดว่า "เดี๋ยวก็คงเด้งกลับไปเหมือนเดิมล่ะน่า.."

2) ช่วง Distribution Phase หรือช่วง sideway หลัง peak ก็อันตราย
เพราะจะเป็นช่วงที่คนที่ได้กำไรมาเยอะๆ ช่วงแรก แล้วไม่ดอย หรือดอยแล้วคัทไปแล้ว แต่ก็พยายามจะเทรดแบบเดิมอยู่ จะคืนกำไรให้ตลาดหมด
เพราะช่วงนี้ กราฟจะสะบัดไปมา ไร้ทิศทาง ซื้อปุ๊บ เอ้า ลงต่อ พอคัท เอ้า ดีด พอซื้อใหม่อีกที เอ้า ลงต่ออีกแล้ว
ถ้าเป็นไปได้ ช่วงนี้ ควรที่จะต้องนั่งกันเฉยๆ ให้เป็น และอย่าไปเทรดในสินค้าชนิดนี้อีก

3) ช่วง Mark Down จะเปิดฉากลงด้วยการหลุด low ของช่วง distribution แล้วก็เปิดฉากขาลง อย่างเป็นทางการ
ในเคสของ wirecard คือ ลิฟท์ขาดกันไปเลย 555
ซึ่งช่วงนี้ ถ้าเทียบกับ BTC ก็คือช่วงหลุด 6000 ลงไป 3000 น่ะแหละ

4) เคสของ wirecard มันรวม selling climax เข้าไปด้วย มีแต่คนขายทิ้ง ไม่มีใครอยากได้สินค้าชนิดนี้อีกต่อไปแล้ว ก็เลยร่วงกันเละเทะ จนทำ new low มากกว่าตอนเปิดตลาด
เคสแบบนี้ วิชาของลุงโฉลก แกบอกว่า ก็ช่างมันไปเลย อย่าไปสนใจมันอีก เพราะหมายถึง มันพังแล้ว ( ปกติ มันไม่ควรจะ new low ไง 55 เพราะเราจะลุ้นเวฟ 1-2 ขึ้น 3 ใหญ่ได้อยู่ ถ้ามันไม่ ทำ new low )


ถ้าสังเกตุดีๆ คุณก็จะเห็นความสัมพันธ์อีกอย่างนึงด้วย คือ
1) ช่วง mark up ราคาขึ้นมาแรงๆ คือช่วงปี 2017 ถึง กลางปี 2018
ช่วงนั้น ไม่ว่า asset ไหนๆ ก็ขึ้นกระจาย ... แสดงว่า ปีนั้น เงินมันล้นโลก?
ปี 2016-2017 ก็เหมือนเป็นยุคทองของ Startup หรือ พวก crowdfunding ทั้งหลายด้วย ... แสดงว่า เงินมันล้นโลกจริงๆ นะ 555

2) ช่วงปี 2018-2020 คือช่วงที่ asset ทุกตัวปรับลงมาตลอด
BTC เองก็เน่ามาตลอดปี 2018 เพิ่งจะมาลืมตาอ้าปากได้ก็กลางปี 2019 แต่ว่า หลังจากนั้น ก็ sideway เน่าๆ ไม่ไปไหน
SET เอง ก็ไป peak ที่ปี 2018 แล้วหลังจากนั้นก็เป็นขาลงมาตลอด 2 ปี


ก็ ลองสังเกตุดู หวังว่า คงจะพอมีประโยชน์กันบ้างนะครับ 55
สรุปสั้นๆ คือ
1) กราฟชัน 90 องศาเมื่อไหร่ + มีแต่คนอยากซื้อ จงอย่าไปเข้าร่วม แต่จงตีตัวออกห่าง และทยอยเก็บกำไร ออกมานั่งข้างสนาม ( Wave 3 กับ 5 )
2) ช่วง sideway หลัง peak เป็นไปได้ก็ควรงดเทรดไปเลย เพื่อรักษากำไร ไม่ให้คืนกลับไปให้ตลาด ( Wave 3-4 หรือ Wave ABC )
3) นั่งรอช่วง accumulation ใหม่ หลัง selling climax จะเป็น โอกาสการเข้าที่สวยมากจุดนึง ( แต่กราฟต้องไม่ทำ new low ) ( Wave 1-2 )

แถม
BEAUTY กราฟเหมือนลอกกันมา
ảnh chụp nhanh

PALLADIUM คงไม่ต้องบอกว่า หลังจากนี้จะเกิดไรขึ้น
ảnh chụp nhanh

SIRI อย่าดูถูกราฟชัน 90 องศา... มันไม่เคยโกหก
ảnh chụp nhanh


Trend Analysiswirecardwyckoff

- ถ้าอยากดูผล Backtest ของกลยุทธนี้ ให้เปิดผ่าน web browser บน PC นะครับ
- ถ้าอยากติดตามเพจ ก็เข้าไปไลค์ได้ที่ facebook.com/inwcoin
- ทุกบทวิเคราะห์ ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน เป็นเพียงการศึกษา Technical Analysis และบันทึกไว้เป็นหลักฐานของผมเองเท่านั้น
Ngoài ra, trên:

Thông báo miễn trừ trách nhiệm